นักลงทุนสัมพันธ์ นักลงทุนสัมพันธ์
Brand
Location
แสดงข่าวล่าสุด

03 April 2020 นิติบุคคลกับบ้านหลังแรกในชีวิต

การได้ครอบครองบ้านสวยสักหลังเป็นอีกหนึ่งความฝันของหนุ่มสาววัยทำงานผู้หวังจะให้บ้านเป็นวิมานอันอบอุ่น เป็นไหล่ให้พักพิงยามเหนื่อยล้า เป็นที่พบปะสังสรรค์กับสมาชิกในครอบครัวเพื่อเติมเต็มพลังกักตุนกำลังใจไว้ใช้ในวันต่อๆไป ทั้งนี้ถ้าไม่อยากให้ความฝันต้องสะดุดผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านหลังแรกในชีวิตควรศึกษาเรื่องนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายภาคหน้า

 

จ่ายเงินซื้อบ้านแล้วทำไมต้องศึกษาอะไรให้วุ่นวาย ???

อธิบายกันก่อนว่า “บ้านจัดสรร”คือการที่ “ผู้จัดสรร”หรือ “เจ้าของโครงการ”ไปสรรหาที่ดินมาจัดแบ่งหรือจัดสร้างหมู่บ้านจากนั้นจึงแบ่งขายโดยสาธารณูปโภคส่วนกลาง เช่น ถนน สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ จะตกเป็นภาระจำยอม เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลงซึ่ ง “ผู้จัดสรร” หรือ “เจ้าของโครงการ” มีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการดูแลโดยมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้อยู่อาศัย

 

ทำไมต้องมี นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

หาก “ผู้จัดสรร” หรือ “เจ้าของโครงการ” ปล่อยปละละเลยสาธารณูปโภค การบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของเจ้าของโครงการไม่โปร่งใส กฎหมาย เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อหรือผู้อยู่อาศัยไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโครงการ มีมติจัดตั้ง “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” แล้วแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด รับโอนทรัพย์สินส่วนกลาง ทรัพย์สินสาธารณูปโภคจาก “ผู้จัดสรร” หรือ “เจ้าของโครงการ” มาบริหารจัดการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานขอคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ควบคุมโดยที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกผู้ซื้อบ้าน

 

หน้าที่ของ กรรมการหมู่บ้านจัดสรร

  • กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภค เช่น การใช้สโมสร การใช้สระว่ายน้ำ ฯลฯ
  • กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายใน เช่น ห้ามส่งเสียงดังหลังเวลา 20.00 น.
  • ห้ามเลี้ยงสัตว์ที่อาจเกิดอันตรายแก่เพื่อนบ้าน
  • ห้ามจอดรถบนทางเท้า ฯลฯ
  • ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิก เกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิก จำนวนตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป เช่น มีคนนำรถบรรทุกมาปิดทางเข้าหมู่บ้าน หรือความเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็น น้ำเน่า เสียงดังจากโรงงานที่อยู่ใกล้เคียงหมู่บ้าน เป็นต้น

 

ฉันคือผู้อาศัย... ฉันต้องทำอย่างไร

  1. 1. เข้าประชุมหมู่บ้านทุกครั้งเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของคุณ โดยเฉพาะการร่วมกำหนดอัตราการเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางรายเดือน
  2. 2. จ่ายค่าส่วนกลางให้ตรงเวลา มิเช่นนั้นอาจเป็นเช่นนี้
  • ถ้าค้างชำระค่าส่วนกลางหมู่บ้านจัดสรรเกิน 3 เดือน อาจถูกระงับการให้บริการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
  • ถ้าค้างชำระค่าส่วนกลางหมู่บ้านจัดสรรเกิน 6 เดือน จะถูกระงับสิทธิในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์