นักลงทุนสัมพันธ์ นักลงทุนสัมพันธ์
Brand
Location
แสดงข่าวล่าสุด

22 September 2022 จะเลือกซื้อบ้านไม่ให้เจอน้ำท่วมได้อย่างไร ?

จะเลือกซื้อบ้านไม่ให้เจอน้ำท่วมได้อย่างไร ?

ช่วงนี้ต้องอัพเดทข่าวน้ำท่วมกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากประเทศไทยกำลังเผชิญกับพายุฝนหลายระลอก ระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องระบายอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้ในหลายๆ พื้นที่เจอภาวะน้ำท่วมและเสี่ยงน้ำท่วม โดยเฉพาะต่างจังหวัดและในเขตภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑล

แน่นอนว่าใครๆ ก็คงไม่อยากให้บ้านน้ำท่วม ดังนั้นหากใครกำลังวางแผนหาซื้อบ้าน แล้วไม่อยากเจอปัญหานี้ ทางแก้ก็คือพยายามเลี่ยงพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมจะดีที่สุด โดยศึกษาข้อมูลของทำเลนั้นๆ ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน ดูว่าทำเลที่ตั้งโครงการเป็นที่ราบลุ่มหรือไม่ เพราะหากเป็นที่ลุ่มต่ำ เวลาเกิดน้ำท่วม น้ำก็จะไหลมาสู่พื้นที่โครงการและบ้านของเราได้ง่าย นอกจากนี้บ้านที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำมากๆ เช่น แม่น้ำหรือคลอง ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ควรพิจารณาดูระบบบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานในเขตหรือเทศบาลร่วมด้วยว่า มีวิธีการจัดการอย่างไรบ้างเพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้านของเรา

ล่าสุด วันที่ 13 กันยายน 2565 เวลา 08.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง

โดยมีการแจ้งเตือนภัยพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น ดังนี้

 

ภาคเหนือ

  • แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ อ.ปางมะผ้า)
  • เชียงใหม่ (อ.ฝาง)
  • เชียงราย (อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.แม่จัน)
  • น่าน (อ.บ่อเกลือ อ.ปัว อ.สันติสุข อ.แม่จริม)
  • เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า อ.เขาค้อ อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี)

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เลย อ.ด่านซ้าย)
  • ชัยภูมิ อ.คอนสาร อ.เกษตรสมบูรณ์

นครราชสีมา อ.วังน้ำเขียว อ.ปากช่อง

ภาคกลาง

  • นครนายก อ.เมืองฯ อ.ปากพลี
  • ปราจีนบุรี อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี
  • จันทบุรี อ.เมืองฯ อ.ขลุง อ.โป่งน้ำร้อน
  • ตราด อ.บ่อไร่ อ.เขาสมิง
  • นนทบุรี อ.เมืองฯ อ.ปากเกร็ด
  • ปทุมธานี อ.คลองหลวง อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา
  • สมุทรปราการ อ.เมืองฯ อ.บางพลี อ.บางบ่อ อ.บางเสาธง
  • กรุงเทพมหานคร

 ภาคใต้

  • นครศรีธรรมราช อ.พิปูน อ.ลานสกา อ.พรหมคีรี
  • ระนอง อ.เมืองฯ อ.กระบุรี อ.ละอุ่น อ.กะเปอร์

 

พื้นที่เฝ้าระวัง น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ

  • ลำพูน อ.บ้านโฮ่ง อ.ลี้ อ.บ้านธิ
  • ลำปาง อ.เมืองฯ อ.เกาะคา อ.ห้างฉัตร

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • เลย อ.เมืองฯ
  • กาฬสินธุ์ อ.ฆ้องชัย
  • ขอนแก่น อ.หนองสองห้อง อ.มัญจาคีรี อ.แวงใหญ่ อ.ชุมแพ
  • หนองบัวลำภู อ.เมืองฯ
  • มหาสารคาม อ.เมืองฯ
  • สุรินทร์ อ.จอมพระ
  • ศรีสะเกษ อ.ห้วยทับทัน
  • อุบลราชธานี อ.เมืองฯ อ.วารินชำราบ

 

ภาคกลาง

  • อ่างทอง อ.ป่าโมก อ.วิเศษชัยชาญ
  • พระนครศรีอยุธยา อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา
  • ปทุมธานี อ.เมืองฯ อ.สามโคก อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา อ.คลองหลวง
  • สมุทรปราการ อ.บางบ่อ อ.บางเสาธง อ.บางพลี
  • สระแก้ว อ.เมืองฯ
  • ชลบุรี อ.ศรีราชา อ.บางละมุง อ.สัตหีบ
  • ระยอง อ.เมืองฯ อ.แกลง
  • จันทบุรี อ.เขาคิชฌกูฏ อ.ท่าใหม่ อ.นายายอาม อ.แก่งหางแมว อ.มะขาม

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

ภาคกลาง

  • สมุทรสาคร
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรปราการ
  • นนทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ระยอง
  • จันทบุรี
  • ตราด
  • เพชรบุรี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • กรุงเทพมหานคร

 

ภาคใต้

  • ชุมพร
  • สุราษฎร์ธานี
  • นครศรีธรรมราช
  • สงขลา
  • ปัตตานี
  • นราธิวาส
  • ระนอง
  • พังงา
  • ภูเก็ต
  • กระบี่
  • ตรัง
  • สตูล

 ขณะที่ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) รายงานสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ระบุว่า  ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 53,346 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 46,587 ล้าน ลบ.ม. (65%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา อุบลรัตน์ ลำตะคอง มูลบน บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด

 อย่างไรก็ตามในกรณีที่เกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นก็ต้องแยกแยะให้ชัดว่า เกิดจากภัยธรรมชาติ หรือคามผิดพลาดของคน ซึ่งมีหลายส่วนมาประกอบกัน ทั้งส่วนในโครงการ ส่วนนอกโครงการ  ที่มีการก่อสร้างจากภาครัฐ หรือในพื้นที่ใกล้เคียงต้องช่วยกันดูและหาทางแก้ปัญหา เพราะบางสถานการณ์เกิดขึ้นไม่ทันตั้งตัว เพื่อความมั่นใจในยุคหลังน้ำท่วมควรปรึกษาโครงการที่เราอยู่แต่ละโครงการว่าได้มีการเตรียมการหรือมีแผนรองรับเหตุน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในเรื่องของตัวบ้านและตัวโครงการไว้อย่างไรบ้าง อาทิ การจัดเตรียมพื้นที่หน่วงน้ำ การจัดทําเขื่อนหรือคันกั้นน้ำในโครงการ รูปแบบการระบายน้ำในโครงการไปจนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพหนีน้ำ ในกรณีวิกฤต ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะมีระดับมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงกับระดับน้ำท่วมว่ามากเพียงใด

 

 สำหรับวันนี้เราก็มีบ้านโครงการดีๆ ที่ไม่เกิดน้ำท่วมมาแนะนำ

มาตรการรองรับการดูแลโครงการในช่วง “ฤดูฝน”

โครงการจาก NC GROUP